ผู้ว่าการ กกท.เร่งดัน พรบ.ควบคุมสารต้องห้ามทางการกีฬา ให้สอดคล้องกับ WADA เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานสากล

ตามที่องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency: WADA) ประกาศไม่ให้การรับรอง ไทย, เกาหลีเหนือ และอินโดนีเซีย โดยประเทศไทยยังไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมนูญขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ในด้านของการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ และการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ทั้งระดับภูมิภาค ทวีป หรือระดับโลก

ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. เปิดเผยว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) อยู่ระหว่างการรับการประเมินผลการดำเนินการการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1. Audit Programs เป็นการตรวจสอบประเมินการปฏิบัติงานของสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา ซึ่ง กกท.ได้ดำเนินการแก้ไข และการปฏิบัติงานตามข้อเสนอแนะของ WADA และยังอยู่ในระหว่างการตรวจประเมินของ WADA ซึ่งจะสิ้นสุด ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 2. Continuous Monitoring Program ซึ่ง WADA ได้ให้การรับรองกฎการต่อต้านการใช้ สารต้องห้ามของสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา เรียบร้อยแล้ว และ 3. พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 ซึ่ง WADA ได้ทำการตรวจสอบพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 พบว่า มีข้อกำหนด ในบางมาตราที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตามที่ประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ฉบับ ค.ศ. 2021 กำหนดไว้

ดังนั้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา ได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี โดยในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 โดยคณะรัฐมนตรี มีมติมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา การกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 อาทิ การกำหนดให้หน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมการใช้สารต้องห้ามของประเทศไทย เป็นหน่วยงานอิสระ แก้ไขบทนิยามเกี่ยวกับสารต้องห้ามทางการกีฬา เป็นต้น โดยให้สอดคล้องกับประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก โดยให้พิจารณารูปแบบความเหมาะสมที่จะตราเป็นกฎหมายตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตราเป็นพระราชกำหนดตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไปโดยเร็ว ซึ่งหากประเทศไทยดำเนินการแก้ไขกฎหมายล่าช้า จะส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งนักกีฬาไปเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ หรือเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติได้ อันจะทำให้กระทบต่อวงการกีฬาของประเทศ และภาพลักษณ์ของประเทศไทยต่อนานาประเทศ รวมทั้ง อาจสูญเสียมูลค่าทรัพย์สินทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก จึงสมควรแก้ไขกฎหมายในเรื่องนี้ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ภายใน 3 – 4 เดือน โดยขณะนี้ การดำเนินการอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

________________________________

SAT Governor to accelerate the amendment of the Anti-Doping Act to comply with WADA

As being confirmed by the World Anti-Doping Agency (WADA), consequences have been imposed for failing to comply with WADA’s code on three NADOs, i.e., Thailand, DPRK, and Indonesia, and could negatively impact the attendance of their athletes at international competitions and the hosting of any regional, continental or world events for a period of one year.

Dr. Gongsak Yodmani, SAT Governor, revealed that according to WADA’s assessment procedures, the signatories will be assessed based on three aspects, i.e., Audit Programs, Continuous Monitoring Program, and the Anti-Doping in Sport Act B.E. 2555 (2012).

1. Audit Programs are tools to assess and monitor compliance of the NADOs. SAT has already corrected non-conformities and has followed the recommendations of WADA. The WADA’s assessment procedures are underway and going to be completed on 17 November 2021.

2. Continuous Monitoring Program ensures that the signatories have in place quality anti-doping programs. In regard to this, WADA has already approved DCAT’s anti-doping rules.

3. The Anti-Doping in Sport Act B.E. 2555 (2012) was declared not in conformity with the 2021 World Anti-Doping Code.

The Ministry of Tourism and Sports, Sports Authority of Thailand, and the Doping Control Agency (DCAT), therefore, have submitted this matter to the Cabinet in its meeting on 21 September 2021. The meeting assigned the Ministry of Tourism and Sports, the Office of the Council of State, the Sports Authority of Thailand, and the National Olympic Committee of Thailand to cooperate in amending the Doping Control in Sport Act B.E. 2555 (2012) to ensure the full operational independence of the DCAT, improve the definition of anti-doping substances, and etc. The bill can be enacted as a law according to Chapter XVI – The National Reform or an Emergency Decree which will have force as an act according to Section 172 of the Constitution of the Kingdom of Thailand. SAT will proceed with amending and enacting the law immediately. If the process is delayed, Thailand will be ineligible to send teams to attend international competitions or host any international sporting events. This will destroy Thailand’s image and harm the national economy. The enactment process will be completed in the next 3 – 4 months, and the draft of the act has already been submitted to the Office of the Council of State.

ข้อมูลจาก : สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย : https://www.sat.or.th/

Leave a Reply