ฟุตบอลยูโร 2020 ไม่คึก พิษโควิดฉุดยอดเงินสะพัด ต่ำสุดในรอบ 10 ปี

หอการค้าไทย เผยผลสำรวจการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงฟุตบอ
อ่านข่าวต้นฉบับ: ฟุตบอลยูโร 2020 ไม่คึก พิษโควิดฉุดยอดเงินสะพัด ต่ำสุดในรอบ 10 ปี

หอการค้าไทย เผยผลสำรวจการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงฟุตบอลยูโร พบยอดใช้จ่ายลดจากพิษโควิด มีผลทำให้เงินสะพัดต่ำสุดในรอบ 10 ปี  ขณะที่  ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังฟื้นช้า รัฐต้องเร่งคุมการแพร่ระบาด เร่งฉีดวัคซีน

วันที่ 22 มิถุนายน 2564 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงผลสำรวจ ”พฤติกรรมและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในช่วงมหกรรมฟุตบอลยูโร ปี 2020 กลุ่มตัวอย่าง 1,200 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-18 มิถุนายน 2564 พบว่า จาการการระบาดของโควิด-19 มีผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนทำให้มีการใช้จ่ายน้อยลง ทั้งในส่วนของการใช้จ่ายในระบบและนอกระบบ ผลกระทบหลักยังมาจากเรื่องของโควิด -19 ส่งผลทำให้เงินสะพัดโดยรวมในช่วงฟุตบอลยูโร 2020 ลดลง 20.3% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 62,440 ล้านบาท

ทั้งนี้ แยกเป็นเงินสะพัดในระบบจากการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์การดูฟุตบอลและอาหารจัดเลี้ยง 15,200 ล้านบาท ลดลง 15.1% และมีเงินสะพัดนอกระบบจากการพนันฟุตบอล 45,800 ล้านบาท ลดลง 22.3%  ซึ่งการเล่นพนันส่วนใหญ่เป็นการเล่นพนันออนไลน์ และมีเป้าหมายเพื่อต้องการเงินรางวัล ไม่ได้เล่นเพื่อแฟชั่นหรือความสนุกสนาน และมีการใช้เงินในแต่ละนัดเฉลี่ย 1,000-5,000 บาท โดยที่มาของเงินมาจากเงินออมและรายได้ปกติ

นอกจากนี้ จากการสำรวจการติดตามฟุตบอลยูโร 2020 พบว่า ปีนี้กว่า 50% ระบุติดตามน้อยถึงไม่สนใจ อีก 50% ติดตามเหมือนเดิมและสนใจมากขึ้น โดยติดตามในทุกสื่อ โดยเฉพาะโซเชียลเร็ตเวิร์กสัดส่วนประมาณ 47% และติดตามถ่านทอดสดในทีวีและมือถือเป็นหลัก ส่วนใหญ่ติดตามรอบแรกและรอบชิง ทีมที่เชียร์ 5 อันดับแรกคือ อังกฤษ โปรตุเกส ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม ส่วนทีมที่คาดจะได้แชมป์ ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี เยอรมัน และเบลเยี่ยม โดยคาดว่าคู่ชิงอันดับแรกคือ อิตาลี- ฝรั่งเศส อันดับ 2 คือ เบลเยี่ยม-ฝรั่งเศส อันดับ 3 คือ อิตาลี-โปรตุเกส

อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินที่สะพัดในช่วงฟุตบอลยูโร จะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมในปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น  0.1% หากดูการขยายตัวพาะไตรมาส 3 จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม 0.3% ส่วนการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปีของไทยยังคาดว่าขยายอยู่ในกรอบ 2-2.5%  

นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคขณะนี้ยังไม่ดีขึ้น แม้รัฐบาลจะมีการฉีดวัคซีน การออกมาตรการใหม่ของรัฐทั้ง ครละครึ่งและยิ่งใช้ยิ่งได้ เนื่องจากปัจจัยเรื่องการคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ยอดการติดเชื้อ และสายพันธุ์เดต้ายังกระจายอยู่  ซึ่งปัจจัยนี้ยังทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้าและมีผลต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี เชื่อว่าในเดือนกรกฎาคมการกระจายวัคซีน การชีดวัคซีนจะดีขึ้น การควบคุมการแพร่เชื้อได้ดีอาจจะทำให้ผู้บริโภคมีความหวังและทำให้ประชาชนกล้ามากขึ้นในการบริโภค

“มาตรการครละครึ่งยังมองว่าวงเงินน้อยไปสำหรับ 3,000 บาท ที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเห็นว่าควรใช้วงเงินที่ 6,000 บาทต่อคน พร้อมกันนี้ สำหรับนโยบายในการเปิดประเทศใน 120 วัน โดยความเห็น เห็นดวยและพร้อมที่จะสนับสนุน”

อย่างไรก็ดี หากเปิดประเทศได้และสามารถมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวได้ในช่วงไตรมาส 4 คาดว่าจะเข้ามา 1 ล้านคน จากปกติแล้วจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 9-10 ล้านคน จะทำให้มีเม้ดเงินสะพัดประมาณ 50,000-60,000  ล้านบาท  กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มได้ประมาณ 0.2-0.3% และหากมีการประเมินเริ่มเปิดประเทศมีนักท่องเที่ยวเข้ามาไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ประมาณ 3-4 ล้านคน คาดว่าจะสร้างรายได้ให้ประเทศประมาณ 2-3 แสนล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มได้ 0.7-1% 

อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของประชาชนจะสามารถกลับมาได้หากรัฐบาลการกระจายวัคซีนได้ตามแผนและสามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ให้อยู่ในวงจำกัดได้ สามารถเดินหน้าเปิดประเทศได้ตามการประกาศของนายกรัฐมนตรี 120 วัน โดยใช้ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์เป็นโมเดล ก็เชื่อว่าจะสร้างความเชื่อมั่นการบริโภคและคลายข้อกังวลให้ประชาชนได้

อ่านข่าวต้นฉบับ: ฟุตบอลยูโร 2020 ไม่คึก พิษโควิดฉุดยอดเงินสะพัด ต่ำสุดในรอบ 10 ปี

ข่าวกีฬาประชาชาติธุรกิจ : www.prachachat.net

Leave a Reply